องค์กรแห่งการเรียนรู้


องค์กรแห่งการเรียนรู้
 1. ความหมายองค์กรแห่งการเรียนรู้
        องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ องค์กรซึ่งคนในองค์กรสามารถขยายขอบเขตความสามารถของเขาเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้อย่างแท้จริง เป็นที่ๆ ส่งเสริมให้เกิดและขยายแนวความคิดใหม่ๆ ออกไป สามารถแสดงออกทางความคิดได้อย่างอิสระ และเป็นที่ซึ่งคนเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง (Peter  Senge,1990 )
        David Garvin’s  (1998) ได้ให้ความหมายขององค์การแห่งการเรียนรู้คือ  องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นองค์การที่มีทักษะในการสร้างสรรค์ การได้มาซึ่งความรู้  การส่งผ่านความรู้  และการปรับพฤติกรรมองค์การเพื่อสะท้อนความรู้ใหม่ให้เกิดการหยั่งรู้
        Peter Senge (1994) ได้ให้ความหมายพื้นฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้ คือ องค์การซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างอนาคตอย่างต่อเนื่อง  สำหรับองค์การเช่นนี้ไม่ใช่เพียงแค่ อยู่รอดการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดเป็นสิ่งสำคัญ และโดยแท้จริงแล้วมีความจำเป็น  แต่สำหรับองค์การแห่งการเรียนรู้นั้น  การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดจะต้องเชื่อมโยงกับการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความสามารถของเราในการสร้างสรรค์  หัวใจขององค์การแห่งการเรียนรู้ คือ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (A Shift of Mind) 
        จากความหมายที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า  องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือความสามารถขององค์กรในการได้มาซึ่งความรู้  ส่งผ่านความรู้  พัฒนาทักษะต่างๆ  รวมทั้งการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างอิสระและต่อเนื่อง
2. กระบวนการดำเนินงานองค์กรแห่งการเรียนรู้                
      DI bella & Schein (1996) แบ่งกระบวนการดำเนินงานองค์กรแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ
        2.1 การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การและประเมินรูปแบบการเรียนรู้
                การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ (Culture Diagnosis) ได้แบ่งวัฒนธรรมองค์การออกเป็น 3 ระดับ  คือ  ระดับแรก คือ Artifacts โดยสามารถเรียนรู้ได้จากการสังเกตด้วยตา  ระดับที่ 2 คือ Espoused Values เป็นค่านิยมที่ทุกคนในองค์การสื่อถึงกันว่า อะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้องควรทำ ซึ่งโดยมากจะถูกกำหนดโดยผู้นำขององค์การตั้งแต่ยุคก่อตั้งบริษัท  ระดับที่ 3 คือ Basic Underlining Assumption เป็นความเชื่อ การรับความคิดและความรู้สึกที่กำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การ และเป็นระดับที่ยากที่สุดในการทำความเข้าใจและดึงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม
                การประเมินรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Orientation Assessment) โดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น วิธีการหาความรู้ (Knowledge Source) การโฟกัสที่เนื้อหาหรือที่กระบวนการ (Content - process Focus)  การเก็บความรู้ (Knowledge Reserve)  การเผยแพร่ความรู้ (Dissemination Mode)  เป็นต้น
         2.2 การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์และการพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
                แนวทางหนึ่งที่นิยมใช้ คือ SWOT ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เพื่อดูว่าโครงสร้างองค์การในปัจจุบันเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือไม่  และการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้เป็นการเน้นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและรูปแบบการเรียนรู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น