แบบทดสอบ


แบบฝึดหัดวิชาเทคโนโลยีสำหรับบริหารจัดการความรู้

1.การกำหนดขอบเขต KM (KM Focus Areas)
   1.ขอบเขต KM (KM Focus Areas) เป็นหัวเรื่องกว้างๆของความรู้ที่จำเป็นและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริหารราชการแผ่นดินซึ่งต้องการจะนำมาใช้กำหนดเป้าหมายKM (Desired State) 

  2.ในการกำหนดขอบเขต KM ควรกำหนดกรอบตามองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อ กระบวนงาน(Work Process)ในข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change)ที่ได้นำเสนอสำนักงาน กพร. ไว้ในปี 2548 ก่อนเป็นลำดับแรก หรือ อาจกำหนดขอบเขตKMตามองค์ความรู้ที่จำเป็นต้องมีในองค์กรเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุตามประเด็นยุทธศาสตร์อื่นๆ ขององค์กร

  3.สามารถใช้แนวทางการกำหนดขอบเขตและเป้าหมาย KM เพื่อจะช่วยรวบรวมขอบเขต KM และนำไปกำหนดเป้าหมาย KM และแผนการจัดการความรู้ ดัง
       - แนวทางที่เป็นความรู้ที่จำเป็นสนับสนุน พันธ์กิจ/ วิสัยทัศน์/ ประเด็นยุทธศาสตร์ในระดับของหน่วยงานตนเอง
       - หรือแนวทางที่เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร
       - หรือแนวทางที่เป็นปัญหาที่ประสบอยู่ และสามารถนำ KM มาช่วยได้
       - หรือเป็นแนวทางอื่นใดก็ได้ที่ทางหน่วยงานเห็นว่าเหมาะสม  

2.KM  มีใครบ้าง  ทำหน้าที่อะไร
   1.ผู้จัดทำโครงการ  ทำหน้าที่ด้านธุรการดูแลการดำเนินการตามแผนจัดการงบประมาณ
   2.ผู้จัดการความรู้ทำหน้าที่ดูแลเอกสารบันทึกความรู้ของทีมประสานงานกับCOPด้านKMและประสานกับแกนนำKM
   3.ผู้นำการสื่อสารทำหน้าที่จัดการและดำเนินการส่งมอบยุทศาสตร์และแผนการสื่อสาร
   4.ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้ออกไปสนับสนุนกิจกรรมKMของหน่วยงานต่างๆในเบื้องต้นคนเหล่านี้รับผิดชอบกิจกรรมพิสูจน์หลักการและสนับสนุนโครงการนำร่อง

3.กระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอนมีอะไรบ้างแต่ละขั้นตอนคืออะไร
     กระบวนการที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาการของความรู้หรือการจัดการกับความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรซึ่งมีดังนี้
        1.การบ่งชี้ความรู้เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย โดยจะคัดเลือกว่าจะใช้เครื่องมืออะไร และขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในรูปแบบใดอยู่ที่ใครโดยอาจจะพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์พันธ์กิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร
        2.การสร้างและแสวงหาความรู้ซึ่งสามารถทำได้หลายทางเช่นการสร้างความรู้ใหม่แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
        3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต
       4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐานใช้ภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม
       5.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวกโดยการใช้พวกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) หรือการประชาสัมพันธ์บน Web board
       6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการซึ่งจะแบ่งได้สองกรณีได้แก่ Explicit Knowledge อาจจะจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆหรือ Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว และเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
       7.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงานเช่นการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆและนำความรู้ที่ได้ไปหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

4. กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง CMP คืออะไร
     เป็นกรอบความคิดแบบหนึ่งเพื่อให้องค์กรที่ต้องการจัดการความรู้ภายในองค์กรได้มุ่งเน้นถึงปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กรที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการความรู้ประกอบด้วย 6องค์ประกอบ  ดังนี้
       1. การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่นกิจกรรมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากผู้บริหาร 
(ที่ทุกคนมองเห็น)โครงสร้างพื้นฐานขององค์กรทีม/หน่วยงานที่รับผิดชอบมีระบบการติดตามและประเมินผลกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จชัดเจน
–ปรับวัฒนธรรมขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางและความเข้าใจเดียวกันเช่นกำหนดให้พนักงานมีความใฝ่รู้ช่วยกันสร้างวัฒนธรรมขององค์กร
– ผู้บริหารทำตัวเป็นกันเอง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพนักงาน
– สร้างบรรยากาศในการทำงาน
–ส่งเสริมกิจกรรมให้กับพนักงานรวมถึงให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นทั้งประสบการณ์เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ

       2.การสื่อสารเช่นกิจกรรมที่ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคนแต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรโดยจะสื่อสารให้พนักงานได้รับรู้ถึงประโยชน์และวิธีการดำเนินกิจกรรมKMผ่านสื่อต่างๆเช่นEmail/Web Site,โปสเตอร์บอร์ดประกาศ
       3. กระบวนการและเครื่องมือช่วยให้การค้นหา เข้าถึง ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้สะดวกรวดเร็ว
ขึ้นโดยการเลือกใช้กระบวนการและเครื่องมือขึ้นกับชนิดของความรู้ลักษณะขององค์กร(ขนาดสถานที่ตั้ง)ลักษณะการทำงานวัฒนธรรมองค์กรทรัพยากรโดยวางขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและสร้างเครื่องมือเพื่อเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมต่างๆ
       4.การเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและหลักการของการจัดการความรู้โดยการเรียนรู้ต้องพิจารณาถึง เนื้อหา  กลุ่มเป้าหมาย วิธีการ การประเมินผลและปรับปรุง
–จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ให้กับพนักงานเพื่อให้เข้าใจวัฒนธรรมและงานขององค์กรตลอดจนมีกิจกรรมให้พนักงานได้เข้าร่วม

– แนะนำวิธีการติดตามข่าวสารและแหล่งความรู้ต่างๆที่มีอยู่ในองค์กร
 – สอนพนักงานให้ทราบถึงวิธีการใช้เครื่องมือ
– แนะนำวิธีการใช้เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เช่น Blog การใช้ Chat Room การเข้ามีส่วนร่วมในชุมชนนักปฏิบัติ

       5.การวัดผล เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ มีการนำผลของการวัดมาใช้ในการปรับปรุงแผนและการดำเนินการให้ดีขึ้นมีการนำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดับให้เห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้และการวัดผลต้องพิจารณาด้วยว่าจะวัดผลที่ขั้นตอนไหนได้แก่วัดระบบ(System),วัดที่ผลลัพธ์ (Out put) หรือวัดที่ประโยชน์ที่จะได้รับ (Out come)
6.การยกย่องชมเชยและให้รางวัลเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับโดยข้อควรพิจารณาได้แก่ค้นหาความต้องการของบุคลากรแรงจูงใจระยะสั้นและระยะยาวบูรณาการกับระบบที่มีอยู่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกิจกรรมที่ทำในแต่ละช่วงเวลา

5. อะไรคือ  COP  สร้างได้อย่างไร  และมีประโยชน์อย่างไร
      ความหมายของ CoP (Community of Practice)
        CoP เป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิผลที่ดีขึ้นส่วนใหญ่การรวมตัวกันในลักษณะนี้มักจะมาจากคนที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกันหรือมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันซึ่งความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันจะเป็นสิ่งที่สำคัญ”
        ประโยชน์ของ COP
            ระยะสั้น        
               · เวทีของการแก้ปัญหา ระดมสมอง
               · ได้แนวคิดที่หลากหลายจากกลุ่ม
               ·ได้ข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจ
               · หาทางออก/คำตอบที่รวดเร็ว
               · ลดระยะเวลา และการลงทุน
                ·เกิดความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
                ·ช่องทางในการเข้าหาผู้เชียวชาญ
                ·ความมั่นใจในการเข้าถึงและแก้ปัญหา
                ·ความผูกพันในกรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
                ·ความสนุกที่ได้อยู่กับเพื่อนร่วมงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น